๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
คำสร้อยคำสร้อยคือ คำที่แต่งเติมขึ้นมาเพื่อให้ครบกระแสความ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องครับ คำสร้องจะต้องมีอย่างละ 2 คำเสมอ โดยคำแรก จะเป็นคำที่เิ่พิ่มความสมบูรณ์ของโคลง ส่วนคำหลังจะลงท้ายด้วยคำที่ไม่มีความหมายเช่น นา นอ เนอ พ่อ แม่ พี่ แล เลย เอย ฤา ฮา ตัวอย่าง
คำ หรือ พยางค์ ที่เราเรียกกันว่า เอกโทษ โทโทษ คือคำตามปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อคิดหาคำมาใช้ไม่ได้ก็ใช้คำตามปกติเพียงแต่เปลี่ยนเป็นไม้โทแทน เช่นคำว่า ท่วม เปลี่ยนเป็น ถ้วม ช่วย เปลี่ยนเป็น ฉ้วย เพื่อให้ลงสัมผัสนั่นเองครับ ตัวอย่าง
ข้อห้าม 4.1 ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์สำหรับพยางค์สุดท้ายในวรรคของบาทที่ 1 และพยางค์ที่ 5 ของวรรคหน้าบาทที่ 2 และ บาทที่ 3 4.2 ห้ามใช้คำตายแทนตำแหน่งโท 4.3 ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรุปวรรณยุกต์สำหรับพยางค์สุดท้ายของบาทที่ 4 (นิยมใช้เสียงจัตวากันมาก) | |||||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น