http://thaicursor.blogspot.com  getcode

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาเวสสันดรชาดก


มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก


   มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์

ประวัติผู้แต่ง
       มหาเวสสันดรชาดก มีผู้นิยมแต่งมากมาย กัณฑ์ละหลายสำนวน ในที่นี้จะกล่าวถึงผู้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นตัวอย่าง ๔ กัณฑ์ จากทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์
                ๑ สำนักวัดถนน - กัณฑ์ทานกัณฑ์
                 ด้วยเหตุที่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าผู้แต่งเป็นใคร ทราบเพียงแต่ว่าเป็นภิกษุที่อยู่วัดถนน  ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสีกุก  อันเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทองจึงใช้ชื่อผู้แต่งกัณฑ์ทานกัณฑ์ว่า สำนักวัดถนน แทนชื่อผู้แต่ง
                 เรื่องผู้แต่งกัณฑ์ทานกัณฑ์นี้ นายทองคำ อ่อนทับทิม มรรคนายกวัดถนน กับนายเสงี่ยม คงตระกูล  ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกบ้านใกล้วัดถนน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งยายสมบูรณ์               สุปญสันธ์  อายุ ๙๐ ปีเศษ พอจะทราบเค้าประวัติของท่านผู้แต่งว่า ชื่อ ทองอยู่ เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง (เดิมอำเภอนี้เป็นที่ตั้งตัวเมืองวิเศษไชยชาญ) ปีเกิดของท่านประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ คือ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุประมาณ ๘-๙ ขวบ ได้ไปศึกษาเล่าเรียนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ไม่ทราบว่าอยู่วัดอะไร เมื่ออายุประมาณ ๑๐-๑๑ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ประจวบกับกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่ตามชนบท ในกรุงศรีอยุธยาเกิดขัดสนเสบียงอาหาร สามเณรทองอยู่จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับบ้านเกิด คือ ตำบลไผ่จำศีล การเดินทางในครั้งนั้นต้องเดินทางผ่านวัดภูเขาทอง อำเภอกรุงเก่า มาบ้านกุ่ม ผ่านบ้านบางชะนีซึ่งเป็นตำบลติดกับบ้านเลน ตำบลโผงเผง ที่บ้านนี้มีวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า วัดถนนสามเณรทองอยู่ได้พักที่วัดนี้ ในขณะนั้นวัดถนนเกือบจะเป็นวัดร้าง มีสามเณรรูปหนึ่งคอยดูแลรักษา เณรรูปนี้ได้ชวนสามเณรทองอยู่มาอยู่ด้วยกัน แต่สามเณรทองอยู่ผัดว่าขออุปสมบทเป็นพระภิกษุก่อน ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๑ หรือ ๒๓๒๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท่านจึงได้อุปสมบทและมาอยู่วัดถนนนี้
                ท่านทองอยู่นับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยมท่านหนึ่ง ท่านจึงได้สร้างเจดีย์ไว้องค์หนึ่ง ซึ่งเวลานี้นับว่าเป็นเจดีย์ที่งดงามปรากฏอยู่หน้าพระวิหารวัดถนน ถึงกับมีผู้มาวาดรูปไปเป็นแบบก่อสร้าง ในด้านวรรณกรรม นอกจากท่านได้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์แล้ว ยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย
               ๒ สำนักวัดสังข์กระจาย  -  กัณฑ์ชูชก
               ส่วนท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกซึ่งเรียกว่า  สำนักวัดสังข์กระจาย  นี้  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า  คือ  พระเทพมุนี  (ด้วง)  แต่ประวัติของพระเทพมุนี (ด้วง) ไม่เป็นที่ทราบกันมากนัก ทราบแต่ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสังข์กระจาย และเป็นที่ทราบว่าท่านเป็นผู้คงแก่เรียน มีความรู้ความสามารถยิ่ง
                ใน พ.ศ. ๒๓๓๒ คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาท (ปัจจุบันคือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท) ติดเป็นเพลิงไหม้   ขึ้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ   แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตแก่บ้านเมือง  พระราชาคณะที่เป็นปราชญ์  มีความชำนาญทั้งพุทธศาสตร์และโหราศาสคร์ ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคลให้เบาพระทัยว่าไม่เป็นอัปมงคลแต่อย่างใด หากจะเป็นความปราชัยบังเกิดแก่ศัตรูในภายหน้า  ซึ่งรายนามพระสงข์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุนีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง  นอกจากนี้  พระเทพมุนีรูปนี้ยังเคยถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ๑ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังขาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ ๑ อีกด้วย
               ๓ พระเทพโมลี (กลิ่น) - กัณฑ์มหาพน
               พระเทพโมลี เป็นนามสมณศักดิ์ นามเดิมว่า กลิ่น  ประวัติของท่านไม่ทราบแน่ชัดทราบแต่เพียงว่ามีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นภิกษุประจำสำนักวัดราชสิทธาราม(วัดพลับธนบุรี) ได้เล่าเรียนพนะปริยัติธรรมอย่างกว้างขวางจนสอบไล่ได้ชั้นเปรียญ ได้เป็นพระรัตนมุนีในรัชกาลที่ ๒ และเป็นพระเทฑโมลีในรัชกาลที่ ๓ ส่วนงานด้านวรรณคดี  คือ  แต่ง (ซ่อม) มหาชาติคำหลวง  กัณฑ์ทานกัณฑ์ และแต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาพน
               ๔ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)  -  กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
               ครั้นต่อมา ตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง  จึงโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งพระยาพิพัฒนโกษาขึ้นเป็นเจ้าพระยาคลังแทน  เจ้าพระยาพระคลัง (หน)  มีบุตรหลายคน แต่ไม่ได้รับราชการ บุตรชาย ๒ คน คนหนึ่งเป็นจินตกวี และอีกคนหนี่งเป็นครูพิณพาทย์ ส่วนบุตรหญิงคนหนึ่งคือเจ้าจอมมารดานิ่ม  เป็นเจ้าจอมมารดาของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ  กระพระยาเดชาดิศร  ในรัชกาลที่ ๒
               เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้แต่งมหาเวสสันดรที่เป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายยาวที่มีคาถาบาลีนำ  แต่งไว้ทั้งหมด ๒ กัณฑ์ คือ  กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี โดยมีจุดประสงค์การแต่งเพื่อแสดงธรรมเทศนาให้อุบาสกและอุบาสิกาฟังในช่วงเข้าพรรษา

               นอกจากนี้  งานนิพนธ์ของท่านยังมีอีกหลายเรื่อง  ในสมัยกรุงธนบุรีมี  ลิลิตเพชรมงกุฎ  อิเหนาคำฉันท์  ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๑ มี โครงพยุหยาตราเพชรพวง  กลอนและร่ายเรื่องสร้าง ภูเขาทองที่วัดราชคฤห์  บทมโหรีเรื่องกากี  และท่านยังเป็นผู้อำนวยการแปลพงศาวดารจีน  เรื่องสามก๊ก  อันเลื่องชื่อและพงศาวดารมอญเรื่อง  ราชาธิราช  ด้วย


ที่มาของเรื่อง
          พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวสสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบริบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมีและพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็นิยมฟังเทศน์มหาชาติกันตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นด้วยเหตุผลสำคัญ ๓ ประการคือ
          ๑. เชื่อกันว่ามหาเวสสันดรชาดกเป็นพระพุทธวจนะซึ่งพระพุทธเจ้าได้เทศนาแก่พระภิกษุสงฆ์ ณ นิโครธารามมหาวิหาร และการได้สดับพระพุทธวจนะทั้งหลายย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตน
          ๒. เชื่อในพระมาลัยสูตรว่า พระศรีอริยเมตไตรยเทพบุตรผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อจากพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้  ได้มีเทวโองการสั่งพระมาลัยเถระผู้ที่มีบุญญาภินิหารอย่างยิ่งว่าผู้ใดมีความปรารถนาใคร่พบพระศีรอาริยเมตไตรย (ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสมัยที่มีแต่ความสุขและความสมบูรณ์อย่างที่สุด) ให้บุคคลผู้นั้นฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกอันประกอบด้วยพระคาภาถึงพันคาถาให้จบภายในวันเดียว ด้วยความตั้งใจฟังอย่างยิ่ง และด้วยเหตุที่เชื่อว่า มทหาเวสสันดรชาดกจะเสื่อมและสูญหายไปก่อนชาดกอื่นๆ จึงควรฟังมหาเวสสันดรชาดกกันอยู่เนืองๆ เพื่อมิให้เสื่อมสูญไป
          ๓.การเทศน์มหาชาติ ผู้เทศนาจะเทศน์เป็นทำนองไพเราะ ใส่อารมณ์ในน้ำเสียง ซึ่งมีทั้งบทโสก สนุกสนาน ฯลฯ จึงบทำให้เกิดปีติโสมนัสในการฟังเทศน์มหาชาติ
          เรื่องมหาชาตินี้ มีที่มาจากเหตุการณ์ครั้งที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่นิโครธารามมหาวิหาร ครั้งนั้นพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติศากยวงศ์พากันมาเฝ้า พระญาติชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงพระเจริญวัยกว่าทรงละลายพระทัยไม่ถวายบังคมพระบรมศาสดา ด้วยทรงเห็นว่ามีพระชนมายุน้อยกว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะทรมานให้พระประยูรญาติละพยศลดทิฐิมานะ จึงทรงกระทำปาฏิหาร์ลอยขึ้นสู่เบื้องบนเหนือพระเศียรเหล่าพระประยูรญาติ พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติทอดพระเนตรเห็นเป็นอัศจรรย์ก็ทรงเลื่อมใส ยกพระหัตย์ขึ้นถวายบังคม ทันใดก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ ขึ้นในบริเวณที่ประชุมกัน พระเจ้าสุทโธนะและพระประยูรญาติก็โสมนัสชื่นชมพระบารมีเป็นอันมาก ต่างถวายความเคารพ ครั้นเมื่อเสด็จกลับแล้ว พระสงฆ์สาวกก็จับกลุ่มกันสนทนาปรารภถึงฝนโบกขรพรรษซึ่งตกลงมาเมื่อครู่ เห็นเป็นอัศจรรย์ ด้วยไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินมาก่อน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่ามิใช่เพิ่งจะมีแต่ในครั้งนี้ เคยมีมาแล้วในกาลก่อน พระสงฆ์สาวกจึงทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้ทรงเล่าเรื่องให้ฟัง ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตรัสเล่าเรื่องเวสสันดรชาดกประทาน


จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้เทศน์ให้ประชาชนฟัง

ลักษณะการแต่ง
               มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดกสำนวนภาคกลางนิยมแต่งด้วยร่ายยาว  เพราะร่ายยาวเหมาะแก่การใช้แหล่เทศน์  ผู้เทศน์จะออกเสียงได้ไพเราะและเปลี่ยนทำนองเทศน์ได้หลายอย่าง
               ร่ายยาวเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำให้คล้องจองกันเป็นวรรคๆ  ในวรรคหนึ่งๆ  จะมีคำตั้งแต่ ๖  คำขึ้นไป จนถึงประมาณ  ๑๕  คำ บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรค  คือ  คำสุดท้ายของวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปยังวรรคหลัง  ซึ่งรับสัมผัสได้แทบทุกคำ  ยกเว้นคำที่อยู่ท้ายวรรค  เป็นเช่นนี้ไปจนจบ  แต่ละบทจะยาวเท่าใดก็ได้  แต่มักไม่ต่ำกว่า ๕ วรรค
               ร่ายยาวมหาเวสสันดร  จะยกคาถาบาลีนำก่อน  แล้วจึงแต่งร่ายยาวตาม  ดังตัวอย่าง
               ...สา อมิตฺตตาปนา ส่วนว่านางอมิตตดานั้นเป็นลูกเหล่าตระกูลไม่เสียชาติ  ไม่คิดว่าตัวเป็นสาวได้ผัวแก่แล้วก็เป็นเมียทาส  คิดว่าทุกข์ของพ่อแม่กรรมแล้วก็ตามกรรม  สมฺมา  ปฏิชคฺคิ เป็นต้นว่าหาหุงต้มตักตำทุกค่ำเช้าไม่ขวยเขินละอายเพื่อนเวลาเช้าเจ้าก็ทำเวลาค่ำเจ้าก็มิให้เตือน ทั้งการเรือนเจ้าก็มิให้ว่า  ทั้งฟืนเจ้าก็หักทั้งผักเจ้าก็หา  เฝ้าปรนนิบัติเฒ่าชราทุกเวลากาลนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)

๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง




คำสร้อยคำสร้อยคือ คำที่แต่งเติมขึ้นมาเพื่อให้ครบกระแสความ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องครับ คำสร้องจะต้องมีอย่างละ 2 คำเสมอ โดยคำแรก
จะเป็นคำที่เิ่พิ่มความสมบูรณ์ของโคลง ส่วนคำหลังจะลงท้ายด้วยคำที่ไม่มีความหมาย
เช่น นา นอ เนอ พ่อ แม่ พี่ แล เลย เอย ฤา ฮา
ตัวอย่าง
   ตราบขุนคิริขัน
รักบ่หายตราบหาย
สรุยจันทร์ขจาย
ไฟแล่นล้างสี่หล้า
    ขาดสลาย แลแม่
    หกฟ้า
    จากโลก ไปฤา
    ห่อนล้างอาลัย

คำ หรือ พยางค์

ที่เราเรียกกันว่า เอกโทษ โทโทษ คือคำตามปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อคิดหาคำมาใช้ไม่ได้ก็ใช้คำตามปกติเพียงแต่เปลี่ยนเป็นไม้โทแทน
เช่นคำว่า ท่วม เปลี่ยนเป็น ถ้วม ช่วย เปลี่ยนเป็น ฉ้วย เพื่อให้ลงสัมผัสนั่นเองครับ

ตัวอย่าง

   เรียนร่ำน้ำเนตรถ้วม
พาหมู่สัตรว์จ่อมจม
พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม
หากอกนิษฐ์พรหมฉ้วย
    ถึงพรหม
    ชีพม้วย
    ทบท่าว ลงนา
    พี่ไว้จึ่งคง

 ข้อห้าม

4.1 ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์สำหรับพยางค์สุดท้ายในวรรคของบาทที่ 1 และพยางค์ที่ 5 ของวรรคหน้าบาทที่ 2 และ บาทที่ 3
4.2 ห้ามใช้คำตายแทนตำแหน่งโท
4.3 ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรุปวรรณยุกต์สำหรับพยางค์สุดท้ายของบาทที่ 4 (นิยมใช้เสียงจัตวากันมาก)